วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 2 วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559


เนื้อหาการเรียนรู้ในวันนี้ 
          ก่อนเริ่มการสอนในวันนี้ครูให้พวกเราทบทวนเพลงสากลที่ร้องเมื่ออาทิตย์ที่แล้วให้ครูฟังว่าเราจะจำเพลงได้หรือไม่

กิจกรรมที่ 1 Marshmallow Tower 
ให้จัดกลุ่ม 5 คน ให้เวลา 5 นาที ต่อ 1 ฐานมีวัสดุดังนี้
1.ดินน้ำมัน
2.ไม้จิ้มฟัน
3.กระดาษ




วิธีการเล่น
            ครั้งแรกคนในกลุ่มห้ามส่งเสียงโดยเด็ดขาดโดยใช้เวลาในการต่อ 5 นาที โดยต้องต่อให้ได้สูงที่สุด ครั้งที่สองเลือกหัวหน้าหนึ่งคนเพื่อสั่งเพื่อนให้ทำตามได้โดยใช้เวลาในการต่อ 5 นาที โดยต้องต่อให้ได้สูงกว่าครั้งที่หนึ่ง ครั้งที่สามเพื่อนๆทุกคนในกลุ่มช่วยกันปรึกษาได้ โดยต้องต่อให้ได้สูงกว่าครั้งที่สอง




***ประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมเพื่อสร้างความสามัคคีกิจกรรมสอนให้เรารู้ว่าเมื่อเราต้องทำงานเป็นทีมการที่เราพูดประสานงานกันจะทำให้งานออกมาได้ดีกว่าการที่ต่างคนต่างทำ***

เนื้อหาการเรียนรู้ เรื่องการเล่น
การเล่น
-กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
-ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
-ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
Piaget กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี 3 ขั้น ดังนี้
1.ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play)
-สำรวจ จับต้องวัตถุ
-ยุติลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
-อายุ 1 ½ - 2 ปี
-การเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
-เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)
-2 ขวบขึ้นไป
-สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ
-เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆที่ไม่มีอยู่ที่นั่น
-ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุด คือ การเล่นบทบาทสมมติ

ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
-การเล่นกลางแจ้ง
-การเล่นในร่ม 
การเล่นในร่ม
-การเล่นตามมุมประสบการณ์
-การเล่นสรรค์สร้าง
การเล่นสร้างสรรค์
-การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระและเล่นได้หลายวิธี
-ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
-เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง

องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง (Formann and Hill, 1980)
1.สภาวะการเรียนรู้
-เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
-การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
-การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
-การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
-การเรียนรู้เหตุและผล
2. พัฒนาการของการรู้คิด
-ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
-กระบวนการเรียนรู้
-กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้

กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
-เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
-การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
-การจำแนกอย่างมีเหตุผล

หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
-ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
-ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
-มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม

-มีการสรุปท้ายกิจกรรม



กิจกรรมที่ 2 เรือน้อยบรรทุกของ 
          ครูให้สร้างเรือจากกระดาษ A4 ที่ครูแจก กลุ่มละ 2 แผ่น หนังยาง 4 เส้น และมีตะเกียบอีก1คู่ เพื่อสร้างเรือโดยให้เอาเรือลอยน้ำแล้วใส่ซองน้ำจิ้มให้ได้มากที่สุด ซึ่งกลุ่มของหนูใส่ซองแล้วเรือก็จม







ภาพกลุ่มตัวอย่างจากเพื่อนๆกลุ่มอื่น





***ประโยชน์ที่ได้จากเกมช่วยให้เราสามัคคีกันภายในกลุ่มเกมทำให้รู้ว่าถ้าเรารู้จักจำจัดจำนวนรู้จักพอประมานจะทำให้ไม่เกิดปัญหาได้ในภายหลัง***



กิจกรรมต่อไปทำชุดรีไซเคิลจากกระดาษหนังสือพิมพ์






การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปต่อยอดความรู้ได้ในอนาคต สามารถนำหลักการสอนของอาจารย์ไปปรับใช้ในการสอนองเราภายภาคหน้าได้ สามารถนำกิจกรรมเหล่านี้ไปปรับใช้ในเหมาะสมกับเด็กแต่ละวัยในการสอนได้

ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมที่ครูสอนและร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนานมีการจดบันทึกการเรียนรู้ที่อาจารย์สอนอีกด้วย
 ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆร่วมกิจกรรมที่อาจารย์จัดให้ได้เป็นอย่างดี สนุกสนาน ร่วมกันทำกิจกรรมจนเสร็จสำเร็จรุร่วงไปด้วยดี
 ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความตรงต่อเวลา สอนได้หลากหลายรู้แบบเน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมกับกิจกรรม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น