วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 14  วันพุธ ที่ 30 พฤศจิกายน 2559


บรรยากาศในการเรียนวันนี้
          วันนี้เป็นการเรียนครั้งสุดท้ายในรายวิชาความคิดสร้างสรรค์ วันนี้อาจารย์ได้นำสีเมจิกมาแจกให้กับนักศึกษา อาจารย์ให้รวบรวมใบปั้มเพื่อให้คะแนนอาจารย์มีของรางวัน คือหนังสือพิมพ์ในหลวงซึ่งเพื่อนๆอยากได้กันเต็มไปหมด แต่คิดว่าตัวเองคงไม่ได้เพราะขาดเรียนหนึ่งครั้ง และอาจารย์ได้หมอบหมายงานให้อีกชิ้น คือ STEM หนูได้หน่วยหอย
หน่วย “หอย”

ลำดับที่
กิจกรรม
STEM&STAEM
แนวคิด
1
สร้างโมเดลทะเล
-Engineering
-Art
ที่อยู่อาศัย
2
การเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยาย/เพลง
-Music
-Language
-Movement
วงจรชีวิตของปลา
3
ประดิษฐ์หอยด้วยจานกระดาษ

-Engineering
-Art
-Math
ลักษณะของหอย
4
การจัดหมวดหมู่หอยแต่ละชนิด
-Math
ลักษณะของหอย
5
วาดรูปหอยตามจินตนาการ
-Arth
ลักษณะของหอย
6
Cooking
-Science
ประโยชน์ของหอย



บันทึกครั้งที่ 13  วันจันทร์ที่ 21 พฤจิกายน 2559

 


          วันนี้ไม่ได้ไปเรียนค่ะ แต่ได้เข้าไปดู Biogger ของเพื่อนๆแล้ว ในวันนี้เพื่อนๆได้ทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์คือ คือครูให้จับกลุ่มให้แต่งนิทานแล้วแสดงนิทานเป็นนิทานบทบาทสมมุติกันจากนิทานที่เพื่อนๆแสดงทำให้เพื่อนสรุปความรู้คือการเคลื่อนไหวสร้างสรรค์แบบบทบาทสมมุติเป็นกิจกรรมที่ฝึกทักษะเช่นการลำดับเหตุการณ์การตั้งชื่อเรื่องการเลือกตัวละครที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน 


บันทึกครั้งที่ 12 วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559


เนื้อหาการเรียนรู้ในวันนี้

วันนี้ก่อนเริ่มการเรียนการสอนอาจารย์ให้เคลื่อนไหวอยู่กับที่โดยการออกแบบท่าพูดชื่อของตัวเองแล้วทำท่าตามชื่อพยางค์ของตนเอง/จากนั้นให้ออกเสียงตามชื่อพยางค์ของตัวเองโดยให้อวัยวะเกิดเสียง

เคลื่อนไหว
องค์ประกอบ
1.ร่างกาย
2.พื้นที่ หาพื้นที่ได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น กางแขน กางขา
3.ระดับ ใช้เกณฑ์ในการดูระดับ
4.ทิศทาง

รูปแบบ
1.เคลื่อนที่ แบบมีอุปกรณ์ แบบไม่มีอุปกรณ์
2.ไม่เคลื่อนที่ แบบมีอุปกรณ์ แบบไม่มีอุปกรณ์

กิจกรรมเคลื่อนไหวสร้างสรรค์
1.เคลื่อนไหวประกอบเพลง
2.เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
3.เคลื่อนไหวตามคำสั่ง
4.เคลื่อนไหวผู้นำผู้ตาม
5.เคลื่อนไหวตามข้อตกลง
6.เคลื่อนไหวความจำ
-จังหวะเคลื่อนไหวพื้นฐานมีการเดิน กระโดด ก้าวชิด สไลต์ ควบม้า
-การบอกทิศทางต้องใช้การเปรียบเทียบหรือการบอกตัวอย่าง เช่น ชื่ออยู่ด้านซ้าย


ภาพตัวอย่างกิจกรรมการเคลื่อนไหวสร้างสรรค์


 เคลื่อนไหวประกอบเพลง




เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย


เคลื่อนไหวความจำ


เคลื่อนไหวตามคำสั่ง


เคลื่อนไหวผู้นำผู้ตาม (กลุ่มหนูเอง)



การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปต่อยอดความรู้ได้ในอนาคต สามารถนำหลักการสอนของอาจารย์ไปปรับใช้ในการสอนของเราภายภาคหน้าได้ สามารถนำกิจกรรมเหล่านี้ไปปรับใช้ในเหมาะสมกับเด็กแต่ละวัยในการสอนได้

ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมที่ครูสอนและร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนานมีการจดบันทึกการเรียนรู้ที่อาจารย์สอนอีกด้วย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆร่วมกิจกรรมที่อาจารย์จัดให้ได้เป็นอย่างดี สนุกสนาน ร่วมกันทำกิจกรรมจนเสร็จสำเร็จรุร่วงไปด้วยดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความตรงต่อเวลา สอนได้หลากหลายรู้แบบเน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมกับกิจกรรม


บันทึกครั้งที่ 11 วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2559


เนื้อหาการเรียนรู้ในวันนี้

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอของเล่น/ของใช้ของตัวเอง

ดูภาพยกตัวอย่างของเล่น/ของใช้ของเพื่อนค่ะ
***ปล.เอารูปมาจากเพื่อนค่ะ***
ตาชั่ง(ของใช้ขวด)

กระดานดำ(ของใช้กระดาษลัง)

โต๊ะเครื่องแป้ง (กล่องกระดาษ)

จักรเย็บผ้า (ลังกระดาษ)

ตู้กดน้ำ(ลังกระดาษ)

เกมฟุตบอล(กล่องกระดาษ)

ที่ใส่หนังสือรูปหมู(ขวดน้ำ)


จากนั้นอาจารย์ให้ตั้งประเด็นว่าของใช้ทำขึ้นมาเพื่ออะไรโดยให้ตั้งเป็นคำถามแต่ไม่เจาะจงว่าในสิ่งนั้นแต่เป็นคำถามที่ให้คิดและไขปัญหาได้ ของหนูคือ เตาแก๊ส คำถามคือ ถ้าเราอยากให้เด็กมีประสบการณ์ในชีวิตประจำวันในการทำอาหารเราะใช้อะไรได้บ้าง? (ของเล่นเป็นบทบาทสมมุติ)


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปต่อยอดความรู้ได้ในอนาคต สามารถนำหลักการสอนของอาจารย์ไปปรับใช้ในการสอนองเราภายภาคหน้าได้ สามารถนำกิจกรรมเหล่านี้ไปปรับใช้ในเหมาะสมกับเด็กแต่ละวัยในการสอนได้

ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมที่ครูสอนและร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนานมีการจดบันทึกการเรียนรู้ที่อาจารย์สอนอีกด้วย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆร่วมกิจกรรมที่อาจารย์จัดให้ได้เป็นอย่างดี สนุกสนาน ร่วมกันทำกิจกรรมจนเสร็จสำเร็จรุร่วงไปด้วยดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความตรงต่อเวลา สอนได้หลากหลายรู้แบบเน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมกับกิจกรรม


บันทึกครั้งที่ 10 วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2559


เนื้อหาการเรียนรู้ในวันนี้

กิจกรรมที่บูรณาการทั้งหมดมีเป้าหมายคือ
-มีประสบการณ์ที่หลากหลายได้เรียนรู้
เป้าหมายปลายทาง เพื่อให้เด็กได้คิดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสติปัญญา
-ร่างกาย ขอบข่าย = น้ำหนักส่วนสูงการเจริญเติบโตเป็นตัวบ่งชี้ สุขภาพอนามัย ประสารทสัมผัสระหว่างกล้ามเนื้อกับอวัยวะหรือการเคลื่อนไหว
-อารมณ์-จิตใจ ขอบข่าย = การแสดงออกทางความรู้สึก สุนทรียะ
-สังคม การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การช่วยเหลือตัวเอง
-สติปัญญา ขอบข่าย = การคิด/คิดเชิงเหตุผล วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์/คิดสร้างสรรค์/ภาษา

ทำไมถึงจัดกิจกรรมที่บูรณาการ?
-เด็กมีพัฒนาการที่มันเชื่อมโยงทั้งสี่ด้านจึงต้องจัดบูรณาการทั้งสี่ด้านให้เชื่อมโยงกัน ความคิดสร้างสรรค์ มีการเชื่อมโยง



กิจกรรมประดิษฐ์ของเล่น (เตาแก๊ส)
อุปกรณ์
-กล่อง 2ใบ
-กระดาษสี (น้ำตาล ดำ)
-กาวสองหน้า
-กรรไกร
-อุปกรณ์ตกแต่ง


ขั้นตอนในการทำ
1.เอากล่องสองใบมาตัดตามช่องที่ได้ออกแบบไว้



2.เมื่อได้รูปแบบที่ตัดก็เอากระดาษสีน้ำตาลมาแปะให้ทั่วกล่อง



3.ตัดแปะส่วนประกอบต่างๆให้เข้ากันอย่างสมบูรณ์







4.ตกแต่งให้สวยงามส่วนต่างๆ








การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปต่อยอดความรู้ได้ในอนาคต สามารถนำหลักการสอนของอาจารย์ไปปรับใช้ในการสอนองเราภายภาคหน้าได้ สามารถนำกิจกรรมเหล่านี้ไปปรับใช้ในเหมาะสมกับเด็กแต่ละวัยในการสอนได้

ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมที่ครูสอนและร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนานมีการจดบันทึกการเรียนรู้ที่อาจารย์สอนอีกด้วย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆร่วมกิจกรรมที่อาจารย์จัดให้ได้เป็นอย่างดี สนุกสนาน ร่วมกันทำกิจกรรมจนเสร็จสำเร็จรุร่วงไปด้วยดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความตรงต่อเวลา สอนได้หลากหลายรู้แบบเน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมกับกิจกรรม